กิจกรรม 22-26 พฤศจิกายน 2553 100คะแนน

ส่งงาน



อธิบาย การกลายพันธุ์ หรือ มิวเทชัน (อังกฤษ: mutation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มปกติ มิวเทชันเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสิ่งมีชีวิต

อธิบาย พืชดัดแปลงพันธุกรรม คือพืชที่ผ่านกระบวนการทางพันธุวิศวกรรม เพื่อให้มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จำเพาะเจาะจงตามต้องการ เช่น มีความต้านทานต่อแมลงศัตรูพืช คงทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือมีการเพิ่มขึ้นของสารโภชนาการหรือชีวโมเลกุลบางชนิด เช่น วิตามิน โปรตีน ไขมัน เป็นต้น พืชดัดแปลงพันธุกรรมถือเป็นสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจี เอ็ม โอ (GMOs – Genetically Modified Organisms) ประเภทหนึ่ง


อธิบาย  การคัดลอกพันธุ์หรือการโคลน (Cloning) การคัดลอกพันธุ์หรือการโคลน หมายถึง การสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้อาศัยการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้คือ อสุจิ กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียคือ ไข่ แต่ใช้เซลล์ร่างกายในการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ การโคลนสามารถทำได้ทั้งพืช และสัตว์ ดังนี้
การโคลนพืช ได้แก่
การตัด ปักชำ ส่วนที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆจากพืช เช่น กิ่ง ใบ ราก เมื่อนำไปปักชำจะสามารถเจริญเติบโตเป็นพืชใหม่ได้ และมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมเหมือนต้นเดิมทุกประการ
การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยการใช้เซลล์ อวัยวะ เนื้อเยื่อ และโพรโทพลาสต์ของพืชมาเลี้ยงในสารอาหารและจัดให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ส่วนต่างๆเหล่านั้นจะเจริญเติบโตเป็นพืชใหม่ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ

 

 อธิบาย  ตัวไวรัสประกอบด้วยโปรตีนซึ่งเป็นดีเอ็นเอ หรืออาร์เอนเอ อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว อยู่ในส่วนกลางของตัวไวรัส ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสนั้นๆ และมีเปลือกหุ้มอีกชั้นเป็นสารโปรตีนที่เรียกว่าแคพซิด เชื้อไวรัสต่างไปจากเซลล์ของคน และสัตว์ที่มีชีวิตอื่นๆ ซึ่งในเซลล์จะมีโปรตีนทั้งสองชนิดเป็นส่วนประกอบอยู่ ไวรัสบางตัวอาจมีเยื่อหุ้มบุอีกชั้นซึ่งมีสารไขมันเป็นส่วนประกอบ ไวรัสไม่มีพลังงานสะสมในตัว ไม่มีการแบ่งตัว ไม่มีการเคลื่อนไหวเมื่ออยู่นอกเซลล์ของคน สัตว์ พืช หรือแม้แต่เชื้อโรคที่ได้รับเชื้อเข้าไป มันจะเพิ่มจำนวน และทำให้เกิดโรคได้ก็ต่อเมื่อเข้าไปอยู่ในเซลล์ของโฮสต์แล้วเท่านั้น ซึ่งเซลล์เหล่านั้นทำหน้าที่เหมือนเป็นโรงงานผลิตเชื้อไวรัสไปโดยปริยาย
ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA

 

 อธิบาย พืชมีกำเนิดมาตั้งแต่ประมาณ 600 ล้านปีที่แล้ว โดยเริ่มจากสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อยู่ในทะเล แล้ววิวัฒนาการเป็นสาหร่ายสีเขียวรวมทั้งพืชชนิดอื่นๆด้วย ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่าสาหร่ายสีเขียวเป็นบรรพบุรุษของพืชทั้งหมด โดยวิวัฒนาการในขั้นต้นเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. พืชที่ไม่มีเนื้อเยื่อลำเลียงเป็นพืชที่ขึ้นอยู่เป็นกลุ่มในบริเวณที่ชื้นแฉะ เริ่มปรากฏให้เห็นเมื่อประมาณ 400 ล้านปีที่แล้ว พืชเหล่านี้มีโครงสร้างของเซลล์คล้ายคลึงกับสาหร่ายสีเขียว พืชที่พบในปัจจุบันได้แกมอส (moss) ลิเวอร์เวิรต (liverwort) ฮอร์นเวิรต (hornwort)
 2. พืชที่มีเนื้อเยื่อลำเลียง พืชบกพวกแรกที่มีเนื้อเยื่อลำเลียงเกิดขึ้นประมาณ 425 ล้านปี ไม่มีรากและใบที่แท้จริง มีแต่ลำต้นที่หยั่งลงดิน ลำต้นที่อยู่เหนือพื้นดินทำหน้าที่สังเคราะห์แสง คลอโรฟิลล์ที่ตรวจสอบพบในพืชเหล่านี้เป็นชนิดเดียวกับที่พบในสาหร่ายสีเขียว จึงเชื่อว่าพืชบกน่าจะมีวิวัฒนาการมาจากสาหร่ายสีเขียว เมื่อแรกจะอยู่ตามชายฝั่งทะเลแล้วค่อยๆ วิวัฒนาการขึ้นมาอยู่บนบก และมีการเปลี่ยนแปลงจนเป็นพืชมากมายหลายชนิดในปัจจุบัน เช่น เฟิร์น พืชใบเลี้ยงเดี่ยว พืชใบเลี้ยงคู่ ฯลฯ

 
 อธิบาย   สายใยอาหาร ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิต
และมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ที่สำคัญคือการเป็นอาหาร
ทำให้มีการถ่ายทอดพลังงานในโมเลกุลของอาหารต่อเนื่องเป็นลำดับจากพืช ซึ่ง
เป็นผู้ผลิต ( Producer ) สู่ผู้บริโภค ( Herbivore ) ผู้บริโภคสัตว์ ( Carnivore ) กลุ่มผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ ( Omnivore ) และผู้ย่อยสลายอินทรียสาร ( Decomposer ) ตามลำดับในห่วงโซ่อาหาร( Food Chain ) ในระบบนิเวศธรรมชาติระบบหนึ่งๆ จะมีห่วงโซ่อาหารสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนหลายห่วงโซ่ เป็นสายใยอาหาร ( Food Web )

 
 อธิบาย  แก๊สเรือนกระจก (Greenhouse gases) คือแก๊สที่มีอยู่ในบรรยากาศที่ทำให้การสูญเสียความร้อนสู่ห้วงอวกาศลดลง จึงมีผลต่ออุณหภูมิในบรรยากาศผ่านปรากฏการณ์เรือนกระจก แก๊สเรือนกระจกมีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการรักษาระดับอุณหภูมิของโลก หากปราศจากแก๊สเรือนกระจก โลกจะหนาวเย็นจนสิ่งมีชีวิตอยู่อาศัยไม่ได้ แต่การมีแก๊สเรือนกระจกมากเกินไปก็เป็นเหตุให้อุณหภูมิสูงขึ้นถึงระดับเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตดังที่เป็นอยู่กับบรรยากาศของดาวศุกร์ซึ่งมีบรรยากาศที่ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์มากถึงร้อยละ 96.5 มีผลให้อุณหภูมิผิวพื้นร้อนมากถึง 467 °C (872 °F) คำว่า “แก๊สเรือนกระจก” บนโลกหมายถึงแก๊สต่างๆ เรียงตามลำดับความอุดมคือ ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัสออกไซด์ โอโซน และ คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon) แก๊สเรือนกระจกเกิดเองตามธรรมชาติและจากกระบวนการอุตสาหกรรมซึ่งปัจจุบันทำให้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีในบรรยากาศ 380 ppmv และที่ปรากฏในแกนน้ำแข็งตัวอย่าง (ดูแผนภูมิ) จะเห็นว่าระดับของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศปัจจุบันสูงกว่าระดับเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 100 ppmv
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%81
 
 อธิบาย อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)
ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา
   - เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่นๆทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell)
   - ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม
   สิ่งมีชีวิตใรอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ กล่าวคือ กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียนสารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ยังมีความสำคัญในแง่เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษาพันธุศาสตร์ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้น


ที่มา  http://www.snr.ac.th/m4html/w4html/monera.htm
 
 อธิบาย การดูดน้ำของรากอุณหภูมิ ขณะที่ปากใบเปิดถ้าอุณหภูมิของอากาศสูงขึ้น อากาศจะแห้ง น้ำจะแพร่ออกจากปากใบมากขึ้น ทำให้พืชขาดน้ำมากขึ้น

ความชื้น ถ้าความชื้นในอากาศลดลงปริมาณน้ำในใบและในอากาศแตกต่างกันมากขึ้น จึงทำให้ไอน้ำแพร่ออกจากปากใบมากขึ้น เกิดการคายน้ำเพิ่มมากขึ้น

ลม ลมที่พัดผ่านใบไม้จะทำให้ความกดอากาศที่บริเวณผิวใบลดลง ไอน้ำบริเวณปากใบจะแพร่ออกสู่อากาศได้มากขึ้น และขณะที่ลมเคลื่อนผ่านผิวใบจะนำความชื้นไปกับอากาศด้วย ไอน้ำจากปากใบก็จะแพร่ได้มากขึ้นเช่นกัน แต่ถ้าลมพัดแรงเกินไปปากใบก็จะปิด
สภาพน้ำในดิน การเปิดปิดของปากใบมีความสัมพันธ์กับสภาพของน้ำในดินมากกว่าสภาพของน้ำในใบพืช เมื่อดินมีน้ำน้อยลงและพืชเริ่มขาดแคลนน้ำ พืชจะสังเคราะห์กรดแอบไซซิก (abscisic acid) หรือ ABAมีผลทำให้ปากใบปิดการคายน้ำจึงลดลง

ความเข้มของแสง ขณะที่พืชได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ปากใบจะเปิดมากเมื่อความเข้มแสงสูงขึ้น และปากใบจะเปิดน้อยลงเมื่อความเข้มของแสงลดลง เนื่องจากความเข้มของแสงเกี่ยวข้องกับอัตราการสังเคราะห์ด้วยแสงซึ่งมีผลต่อ การเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำตาล ไอออน และสารอินทรีย์บางชนิดที่อยู่ในเซลล์คุม ดังนั้นเมื่อความเข้มข้นของแสงมากขึ้น จะเป็นผลให้การคายน้ำในใบมาก แต่ในบางกรณีถึงแม้ความเข้มของแสงมากแต่น้ำในดินน้อย พืชเริ่มขาดน้ำปากใบจะปิด
โดยทั่วไปปากใบพืชจะเปิดในเวลากลางวันเพื่อนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ในการ สังเคราะห์ด้วยแสงและปิดในเวลากลางคืน แต่พืชอวบน้ำ เช่น กระบองเพชรที่เจริญในที่แห้งแล้ง ปากใบจะเปิดในเวลากลางคืน และปิดในเวลากลางวันเพื่อลดการสูญเสียน้ำ ในเวลากลางคืนพืชตระกูลนี้จะตรึงคาร์บอนไดออกไซด์แล้วเปลี่ยนเป็นกรด อินทรีย์เก็บสะสมไว้ในแวคิลโอล ในเวลากลางวันพืชจะนำคาร์บอนไดออกไซด์จากกรดอินทรีย์มาใช้ในการสังเคราะห์ ด้วยแสงพืชบางชนิดยังมีการปรับโครงสร้างให้มีประสิทธิภาพในการดูดน้ำ โดยมีรากแผ่ขยายเป็นบริเวณกว้างหรือมีรากหยั่งลึกลงไปในดิน เช่น หญ้าแฝก พืชบางชนิดลำต้นและใบอวบน้ำเพื่อสะสมน้ำ มีขนปกคลุมปากใบจำนวนมาก มีคิวทินหนาที่ผิวใบ รูปร่างของใบมีขนาดเล็กลงหรือเปลี่ยนไปเป็นหนาม บางชนิดมีโครงสร้างที่ช่วยลดการคายน้ำ เช่น ปากใบอยู่ต่ำกว่าระดับผิวใบ เช่น ปากใบของต้นยี่โถ


โครงสร้างของพืชที่ทำหน้าที่ลำเลียงพืชเป็นสิ่งที่มีชีวิตที่สร้างอาหาร ได้เอง โดยใช้อนินทรียสาร ได้แก่ น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ และเกลือแร่ที่จำเป็นบางชนิด คาร์บอนได้ออกไซด์ส่วนใหญ่จะเข้าสู่พืชโดยการแพร่ผ่านปากใบและอีกบางส่วน ละลายน้ำเข้าสู่ราก ส่วนน้ำและเกลือแร่ส่วนใหญ่จะนำเข้าสู่พืชโดยผ่านทางราก แต่มิได้หมายความว่าทุกส่วนของรากจะดูดน้ำ และเกลือแร่ได้เท่ากันหมด ทั้งนี้เพราะว่าโครงสร้างแต่ละส่วนของรากนั้นมีความแตกต่างกัน จากการศึกษาพบว่าน้ำจะถูกดูดได้ดีที่สุดบริเวณขนราก (root hair) ส่วนเกลือแร่ถูกดูดได้ดีที่สุดในบริเวณที่เป็นเยื่อเจริญ
คอร์เทกซ์ (Cortex) เป็นชั้นของเนื่อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์หลายแถวและหลายชนิด ชั้นคอร์เทกซ์ในรากกว้างกว่าในลำต้น ซึ่งการที่รากมีคอร์เทกซ์กว้างนี้นับว่ามีความเหมาะสมมากที่สุด เพราะรากจำเป็นต้องอาศัยโครงสร้างนี้ในการสะสมน้ำและเกลือแร่ที่ดูดเข้ามา เอาไว้ให้ได้มากที่สุด เนื้อเยื่อที่เป็นองค์ประกอบในชั้นนี้มีหลายประเภท เช่น
พาเรนไคมา (Parenchyma) พบมาก ทั้งในรากและลำต้น ประกอบด้วยเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ส่วนใหญ่เซลล์มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกกลม หรือทรงกระบอกเหลี่ยมด้านเท่า หรือกลมรี ผนังเซลล์บาง ในลำต้นที่มีสีเขียวจะมีคลอโรพลาสท์ อยู่ในเนื้อเยื่อชนิดนี้ และสังเคราะห์ด้วยแสงได้ จึงเรียกพาเรนไคมาชนิดที่คลอโรพลาสท์บรรจุอยู่ภายในนี้ว่า คลอเรนไคมา (Chlorenchyma)

ที่มา http://www.lks.ac.th/kanlayanee_fence/bio510_52/s1_7.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น