กิจกรรม 13-17 ธันวาคม 2553


ตอบ 4.
อธิบาย ศัพท์การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรม
ที่มา http://warunee.chs.ac.th/sub.htm
ตอบ 2.
อธิบาย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้ออกเอกกสารเผยแพร่เล่มเล็กๆ สีสันสวยงามในชื่อ “เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการดัดแปรพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต” เพื่อเผยแพร่เรื่องราวและข้อสงสัยเกี่ยวกับ “จีเอ็มโอ” ซึ่งผู้จัดการวิทยาศาสตร์ได้นำรายละเอียดทั้งหมดมาให้อ่านกัน....
ที่มา http://www.pramot.com/gmo/gmoques.html
 ตอบ 2.
อธิบาย กฎเกณฑ์ทางพันธุกรรมที่เมนเดลค้นพบนั้นไม่ใช่จะใช้ได้เฉพาะกับต้นถั่วลิสงเท่านั้น แต่เป็นกฎที่ใช้ได้กับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศรวมทั้งมนุษย์ด้วย มนุษย์มีโครโมโซม 23 คู่ แต่ละโครโมโซมมียีนมากมายหลายกลุ่มเรียงต่อๆ กันไป ลักษณะทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดตามกฎของเมนเดลเท่านั้นที่นักพันธุศาสตร์ได้ศึกษาไว้แล้วมีจำนวนมากมาย ซึ่งอาจแบ่งอย่างกว้างๆ ได้ 2 ประเภทคือ ลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนในออโตโซม และลักษณะที่ควบคุมด้วยยีนในโครโมโซมเพศ
ตอบ 1.
อธิบาย
ดิวิชันไบรโอไฟตา (Division Bryophyta)
   เรียกโดยทั่วไปว่า ไบรโอไฟต์ (bryophyte) มีทั้งสิ้นประมาณ 16,000 ชนิด พืชในดิวิชันนี้มีขนาดเล็ก มีโครงสร้างง่าย ๆ ยังไม่มีราก ลำต้นและใบที่แท้จริง ชอบอาศัยอยู่ตามที่ชุ่มชื้น การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศยังต้องอาศัยน้ำสำหรับให้สเปิร์มที่มีแฟลกเจลลา (flagella) ว่ายไปผสมกับไข่ ต้นที่พบเห็นโดยทั่วไปคือแกมีโทไฟต์ (มีแกมีโทไฟต์เด่น) รูปร่างลักษณะมีทั้งที่เป็นแผ่นหรือแทลลัส (thallus) และคล้ายลำต้นและใบของพืชชั้นสูง (leafy form) มีไรซอยด์ (rhizoid) สำหรับยึดต้นให้ติดกับดินและช่วยดูดน้ำและแร่ธาตุ มีส่วนคล้ายใบ เรียก phylloid และส่วนคล้ายลำต้นเรียกว่า cauloid แกมีโทไฟต์ของไบรโอไฟต์มีสีเขียวเพราะมีคลอโรฟิลล์สามารถสร้างอาหารได้เอง ทำให้อยู่ได้อย่างอิสระ เมื่อแกมีโทไฟต์เจริญเต็มที่จะสร้างเซลล์สืบพันธุ์คือสเปิร์มและไข่ต่อไป ภายหลังการปฏิสนธิของสเปิร์มและไข่จะได้ไซโกตซึ่งแบ่งตัวเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริโอและสปอร์โรไฟต์ตามลำดับ สปอโรไฟต์ของ ไบรโอไฟต์มีรูปร่างลักษณะง่าย ๆ ไม่สามารถอยู่ได้อย่างอิสระจะต้องอาศัยอยู่บนแกมีโทไฟต์ตลอดชีวิต พืชในดิวิชันนี้สร้างสปอร์เพียงชนิดเดียว
ที่มา http://www.snr.ac.th/m4html/w4html/bryophyta.htm
ตอบ 1.
อธิบายไวรัสไข้หวัดนกที่ระบาดในประเทศไทยเมื่อต้นปี 2004 มีชื่อเรียกว่า A/Chicken/Nakorn-Pathom/Thailand/CU-K2/04 (H5N1) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีลักษณะก่อให้เกิดโรครุนแรง จัดเป็นชนิด highly pathogenic AI (HPAI) ซึ่งเชื้อที่แยกได้จากไก่จะมีลักษณะใกล้เคียงกับไวรัสไข้หวัดนกที่แยกเชื้อได้จากเป็ดในการระบาดที่ประเทศจีนเมื่อปี 2003 มากที่สุด A/Duck/China/E319.2/03 (H5N1) จากการศึกษารหัสพันธุกรรมของไวรัส พบว่ามี 20-codon deletion ในยีน neuraminidase และ 5-codon deletion ในยีน NS รวมทั้งพบ polymorphisms ของยีน M2 และยีน PB2 อีกด้วย